เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย : "เงิน เงิน เงิน"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการทางการเงิน และตระหนักถึงความสําคัญของการออมทรัพย์ สามารถจัดการทางการเงินของตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างคุ้มค่า

week 7

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : "เงิน เงิน เงิน"
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  Quarter 3   ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2557
เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและเห็นความแตกต่างของการออกมและการลงทุนประเภทต่างๆ รวมทั้งสามารถเลือกใช้การออมและการลงทุนที่เหมาะสม

Week
Input
Process
Output
Outcome
7
8 – 12 ธ.ค.
  2557
โจทย์ :
- การออมและการลงทุนประเภทต่างๆ
- ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการออมและการลงทุน

Key Questions
- ทำไมต้องมีธนาคาร
- การออม และการลงทุนมีความจำเป็นอย่างไร

เครื่องมือคิด
Placemat : ร่วมกันวิเคราะห์บทความเกี่ยวกับชีวิตคนที่ประสบความสำเร็จและความล้มเหลวในการจัดการเรื่องเงิน
Brainstorms : ครู และนักเรียนอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
Show and  Share : แลกเปลี่ยนนำเสนอการวิเคราะห์บทความร่วมกัน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บทความเกี่ยวกับชีวิตคนที่ประสบความสำเร็จและความล้มเหลวในการจัดการเรื่องเงิน
- เกมการออมการลงทุน
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องเรียน
วันจันทร์
ชง :
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาบทความเกี่ยวกับชีวิตคนที่ประสบความสำเร็จและความล้มเหลวในการจัดการเรื่องเงิน เช่น รัตนพล ส.วรพิน โอปราห์ วินฟรีย์ เทพ โพธิ์งาม ศิริวัฒน์แซนวิช
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า(1) ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร
(2) เกิดผลกระทบอย่างไร
(3) นักเรียนได้เรียนรู้อะไร
 เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์บทความในรูปแบบ Placemat
วันอังคาร
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอการวิเคราะห์บทความร่วมกัน
- ครู และนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ชง :
- ครูให้นักเรียนเล่นเกมการออมการลงทุน ของตลาดหลักทรัพย์
ตัวอย่างคำถาม : มานะ เริ่มออมทรัพย์ตั้งแต่อายุ 25 ปี ปีละ 27,800 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย 7% ต่อปี หากแต่ว่านักเรียนเริ่มออมทรัพย์ตั้งแต่อายุ 40 ปี ดอกเบี่ยปีละ 7% ในอัตราเงินฝากเท่าไร จึงจะมีเงินเก็บมากกว่าหรือเท่ากับมานะ เมื่ออายุครบ 60 ปี (ไม่เกิน 20% ของเงินเก็บของมานะ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการเล่นเกม
เชื่อม :

- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

วันพฤหัสบดี
ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  จากเงินห้องที่มีอยู่ นักเรียนแต่ละคนจะเลือกการออมและการลงทุนรูปแบบใดที่คิดว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุด                                                         
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการออมและการลงทุน
- นักเรียนแต่ละคนวาดแผนภาพการบริหารจัดการเงินห้องในรูปแบบการออมและการลงทุนตามที่ตนเองสนใจ
วันศุกร์
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับรูปแบบการออมและการลงทุนประเภทต่างๆ ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- การศึกษาและวิเคราะห์บทความเกี่ยวกับชีวิตคนที่ประสบความสำเร็จและความล้มเหลวในการจัดการเรื่องเงิน
- การแลกเปลี่ยนนำเสนอการวิเคราะห์บทความร่วมกัน
- การอภิปรายเกี่ยวกับบทความร่วมกัน
- การเล่นเกมการออมการลงทุน ของตลาดหลักทรัพย์
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นเกมการออมการลงทุนร่วมกัน
- การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการออมและการลงทุน
- การอภิปรายเกี่ยวกับรูปแบบการออมและการลงทุนประเภทต่างๆ ร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- วาดแผนภาพการบริหารจัดการเงินห้องในรูปแบบการออมและการลงทุนตามที่ตนเองสนใจ
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
- เพื่อเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการทางการเงิน และตระหนักถึงความสําคัญของการออมทรัพย์ สามารถจัดการทางการเงินของตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างคุ้มค่า
- เข้าใจและเห็นความแตกต่างของการออกมและการลงทุนประเภทต่างๆ รวมทั้งสามารถเลือกใช้การออมและการลงทุนที่เหมาะสม

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
- ถ่ายทอดสิ่งที่ได้พบเจอ และสามารถนำเสนอแลกเปลี่ยนความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหา
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น


ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์รียนรู้นักเรียน




ตัวอย่างภาพกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียน

บันทึกหลังการสอน
ในสัปดาห์นี้ พี่ม.2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออมและการลงทุนประเภทต่างๆ ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการออมและการลงทุนโดยครูแบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาบทความเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตคนที่ประสบความสำเร็จและความล้มเหลวในการจัดการเรื่องเงิน เช่น รัตนพล ส.วรพิน โอปราห์ วินฟรีย์ เทพ โพธิ์งาม ศิริวัฒน์แซนวิช
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า
(1) ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร
(2) เกิดผลกระทบอย่างไร
(3) นักเรียนได้เรียนรู้อะไร
จากนั้นแต่ละกลุ่มได้นำข้อมูลที่ได้มานำเสนอแลกเปลี่ยนให้เพื่อนและครูฟัง นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์บทความในรูปแบบ Placemat
แล้วแลกเปลี่ยนนำเสนอการวิเคราะห์บทความร่วมกัน
ครูให้นักเรียนเล่นเกมการออมการลงทุน ของตลาดหลักทรัพย์
ตัวอย่างคำถาม : มานะ เริ่มออมทรัพย์ตั้งแต่อายุ 25 ปี ปีละ 27,800 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย 7% ต่อปี หากแต่ว่านักเรียนเริ่มออมทรัพย์ตั้งแต่อายุ 40 ปี ดอกเบี้ยปีละ 7% ในอัตราเงินฝากเท่าไร จึงจะมีเงินเก็บมากกว่าหรือเท่ากับมานะ เมื่ออายุครบ 60 ปี (ไม่เกิน 20% ของเงินเก็บของมานะ)
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการเล่นเกม
พี่ฟ้ากัลป์  การวางแผนเรื่องการออม
พี่กีต้าร์  การบริหารจัดการเงินให้เกิดประโยชน์
พี่ฟลุ๊ค การคิดอัตราดอกเบี้ยในการออม
ครูให้โจทย์  จากเงินห้องที่มีอยู่ นักเรียนแต่ละคนจะเลือกการออมและการลงทุนรูปแบบใดที่คิดว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุด  นักเรียนแต่ละคนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการออมและการลงทุนพร้อมทั้งวาดแผนภาพการบริหารจัดการเงินห้องในรูปแบบการออมและการลงทุนตามที่ตนเองสนใจ(เทียบกับแผนการจัดการเงินห้องที่ให้ออกแบบก่อนเรียนรู้อีกครั้ง)
ครูและนักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับรูปแบบการออมและการลงทุนประเภทต่างๆ ร่วมกัน นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น