เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย : "เงิน เงิน เงิน"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการทางการเงิน และตระหนักถึงความสําคัญของการออมทรัพย์ สามารถจัดการทางการเงินของตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างคุ้มค่า

week6

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : "เงิน เงิน เงิน"
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  Quarter 3   ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2557
เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งสามารถนำมาปรับใช้ในชิวตประจำวันของตนเองได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
6
1 – 5 ธ.ค. 2557
 โจทย์ :
- ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

Key Questions  :
- ทำไมสินค้าบางชนิดจึงมีราคาแพง
- นักเรียนออกแบบการใช้ชีวิตโดยใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์ได้อย่างไร

เครื่องมือคิด :

Brainstorms :

- อภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

- อภิปรายเกี่ยวกับใช้ชีวิตโดยใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกัน

Blackboard share : ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเกม (คุ้ม-ไม่คุ้ม, ความเสี่ยง, กำไร-ขาดทุน, การออม-การลงทุน)

Show and Share : นำเสนอและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับคำถามทางเศรษฐศาสตร์


สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- เกมเศรษฐี เกมไพ่ Garden Trade และเกมกระดาน Survive
- คำถามทางเศรษฐศาสตร์
บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเตอร์เน็ต
- ห้องเรียน
วันจันทร์
ชง :
- นักเรียนเล่นเกมเศรษฐี เกมไพ่ Garden Trade
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการทำกิจกรรม                                                         
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเกม ในรูปแบบ Blackboard share
(คุ้ม-ไม่คุ้ม, ความเสี่ยง, กำไร-ขาดทุน, การออม-การลงทุน)
- ครูและนักเรียนอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
วันอังคาร
ชง :
- นักเรียนเล่นเกมกระดาน Survive
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการทำกิจกรรม                                                         
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเกม ในรูปแบบ Blackboard share
(คุ้ม-ไม่คุ้ม, ความเสี่ยง, กำไร-ขาดทุน, การออม-การลงทุน)
- ครูและนักเรียนอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
วันพฤหัสบดี
ชง :
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน ให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์คำถามต่อไปนี้
ทำไมสินค้าบางชนิด (รถ, นาฬิกา, แหวนเพชร)จึงมีราคาแพง?
ทำไมซื้อเสื้อกันหนาวในฤดูหนาวจึงมีราคาแพง?
ทำไมเราควรรับประทานผลไม้ตามฤดูกาล?
ทำไมเนื้อวัวจึงมีราคาแพงกว่าเนื้อหมู?
เชื่อม :

- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์คำถามทางเศรษฐศาสตร์ และนำเสนอในรูปแบบแผนภาพ

- ครูและนักเรียนอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

วันศุกร์

ชง :

- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าหลักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างไร (การเลือก, ค่าเสียโอกาส, การจัดการทรัพยากร)

- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าอะไรในชีวิตของนักเรียนที่ไม่ถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์

เชื่อม :

- ครูให้นักเรียนแต่ละคนคิดว่าอะไรในชีวิตของนักเรียนที่ไม่ถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์

- นักเรียนแต่ละคนร่วมกันนำเสนอชิ้นงาน
- ครูและนักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับใช้ชีวิตโดยใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
 - การเล่นเกมเศรษฐี เกมไพ่ For Sale และเกมกระดาน Survive
- การร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเกม โดยใช้เครื่องมือคิด Blackboard share (คุ้ม-ไม่คุ้ม, ความเสี่ยง, กำไร-ขาดทุน, การออม-การลงทุน)

- การอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

- การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาใช้อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- การอภิปรายเกี่ยวกับใช้ชีวิตโดยใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- ร่วมกันวิเคราะห์คำถามทางเศรษฐศาสตร์ และนำเสนอในรูปแบบแผนภาพ
- ออกแบบการใช้ชีวิตโดยใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์ตามความสนใจ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้ :
- เพื่อเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการทางการเงิน และตระหนักถึงความสําคัญของการออมทรัพย์ สามารถจัดการทางการเงินของตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างคุ้มค่า
- เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
- ถ่ายทอดสิ่งที่ได้พบเจอ และสามารถนำเสนอแลกเปลี่ยนความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
ทักษะการจัดการข้อมูล

- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์ผ่าน

เกมไพ่ For Sale และเกมกระดาน Survive
 ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหา
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์นักเรียน



ตัวอย่างภาพกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียน



บันทึกหลังการสอน
ในสัปดาห์นี้พี่ม.2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ครูนำกิจกรรมโดยให้นักเรียนเล่นเกมเศรษฐี เกมไพ่ Garden Trade เกม Live and Learn และเกมกระดาน Survive หลังจากที่เล่นเกมเสร็จ ครูและนักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเกม ในรูปแบบ Blackboard share  (คุ้ม-ไม่คุ้ม, ความเสี่ยง, กำไร-ขาดทุน, การออม-การลงทุน)
นักเรียนอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน เช่น
พี่มายด์ : ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผน การตัดสินใจในการลงทุน
พี่ฟิวส์ : มีการวางแผนเตรียมตัว เลือกผลิตสิ่งที่คนต้องการปัจจัยที่มีผลต่อการผลิต เช่น  ผู้บริโภค วัตถุดิบ การตลาด ทิศทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน ให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์คำถามต่อไปนี้
ทำไมสินค้าบางชนิด (รถ, นาฬิกา, แหวนเพชร)จึงมีราคาแพง?
        พี่ฟ้ารุ่ง : ตอบว่ามีวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ในการผลิตต่างกัน ส่งผลให้ราคาแพงหรืออาจจะเป็นความนิยมของผู้คนด้วย
ทำไมซื้อเสื้อกันหนาวในฤดูหนาวจึงมีราคาแพง?
       พี่ปาล์ม : ตอบว่าคนต้องการเป็นจำนวนมากเนื่องจากอากาศหนาว
ทำไมเราควรรับประทานผลไม้ตามฤดูกาล?
      พี่หญิง : ตอบว่าเนื่องจากผลไม้มีจำนวนมากส่งผลให้ราคาถูกกว่าผลไม้นอกฤดูกาลช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้
ทำไมเนื้อวัวจึงมีราคาแพงกว่าเนื้อหมู?
     พี่ทิพย์ : ตอบว่าระยะเวลาในการเลี้ยงวัวมากกว่าหมูทำให้มีต้นทุนสูงในการผลิตส่งผลต่อราคาด้วย

นักเรียนแต่ละคนเขียนแผนภาพการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์พร้อมทั้งร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนภาพการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์
นักเรียนแต่ละคนนำเสนอแผนภาพของตนเองพร้อมทั้งอภิปรายเกี่ยวกับใช้ชีวิตโดยใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกัน นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น